เทคนิคออกกำลังกายฤดูร้อน ป้องกันฮีทสโตรก !

“ฮีทสโตรก” ได้คือภาวะอันตรายที่นักกีฬาและผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกายต้องระวัง แนะวิธีการออกกำลังกายหน้าร้อนให้สมดุลแข็งแรง!

ในช่วงฤดูร้อนของไทย ที่จะมีอุณหภูมิสูงแตะ 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป จะอยู่ระหว่างเดือนมีนาคมจนถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี ซึ่งปีนี้กรมอุตินิยมวิทยาประกาศว่าจะร้อนมากกว่าปีที่แล้ว ซึ่งนอกจากจะป้องกันตัวเองจากแสงแดดและความร้อนแล้วยังต้องคำนึงถึงการออกกำลังกายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ชอบออกกำลังกายกลางแจ้ง เพราะการออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดภาวะโรคลมแดด หรือฮีทสโตรกได้!

ข้อควรระวังออกกำลังกายภายใต้แดดจัด

1.เลือกประเภทกีฬาและเวลาที่เหมาะสม

ช่วงแดดออกจัดจะอยู่ช่วงเวลาประมาณ 10.30-14.30น. ควรเลือกการออกกำลังกายในที่ร่ม เช่น เล่นยิม เล่นฟิตเนส ออกกำลังกายในโรงยิม คอร์แบดมินตัน สระว่ายน้ำในร่ม เป็นต้น สำหรับกิจกรรมการออกกำลังกายกลางแจ้งนั้น ควรเลือกช่วงเวลาเช้าตรู่หรือหลังที่พระอาทิตย์ตกไปแล้ว อากาศจะเย็นลงและมีลมพัดผ่าน มากกว่าช่วงเวลาที่แดดออกจัดๆ

2.เลือกอาหารที่ปลอดภัย

ทุกคนคงทราบอยู่แล้วว่าช่วงหน้าร้อนเป็นช่วงที่อาหารปรุงสุกเสียสภาพและเน่าเสียเร็วกว่าอากาศเย็น ดังนั้นใครที่ต้องการไปออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควรดูแลสุขลักษณะอนามัยของตนเอง เลือกอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ หลีกเลี่ยงอาหารที่ถูกเก็บไว้นานหรือเริ่มมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ หากได้รับเชื้อโรคหรือมีอาการอาหารเป็นพิษคงไม่สามารถออกกำลังกายไหวอย่างที่ตั้งใจได้

3.เลือกเครื่องดื่มให้เป็น

เครื่องดื่มเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับหน้าร้อนเช่นนี้ เพราะร่างกายสูญเสียเหงื่อมากกว่าปกติเกือบ 2 เท่า การดื่มน้ำก่อน จิบน้ำขณะออกกำลังกาย และดื่มน้ำหลังการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ และจะส่งผลต่อสมรรถภาพในการออกกำลังกายต่อไปได้ เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นตะคริว หน้ามืด เป็นต้น และถ้าหากสูญเสียเหงื่อมากจริงๆอาจพิจารณาเครื่องดื่มเกลือแร่ร่วมด้วย

ทั้งนี้ผู้ที่รักการออกกำลังกาย ควรหลีกเลี่ยงการสูญเสียน้ำออกจากร่างกายโดยไม่จำเป็น การสูญเสียน้ำทางร่างกายนอกจากเหงื่อแล้ว ก็จะออกทางปัสสาวะ อุจจาระ และลมหายใจ ดังนั้นควรระมัดระวังเครื่องดื่มหรืออาหารที่ส่งผลต่อการกระตุ้นปัสสาวะ อุจจาระ เช่น เครื่องดื่มกาแฟ นม อาหารเผ็ด อาหารรสจัด เป็นต้น

ข้อควรระวังในการออกกำลังกาย

  • ผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายในช่วงฤดูร้อน ควรเริ่มจากระยะครึ่งนึงของเวลาที่ออกปกติ อย่างเช่นเคยออก 1 ชม. ลดเหลือ 30 นาที และค่อยๆ และจึงค่อยๆเพิ่มเวลาขึ้น 20% จากเวลาเดิมที่ใช้ และก่อนออกกำลังกายควรอบอุ่นร่างกาย 5-10 นาทีก่อน
  • ควรเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าหนาๆไม่ระบายอากาศ เพราะจะทำให้ร่างกายเสียเหงื่อมาก

หากรู้สึกอ่อนเพลีย ปวดหัว หน้ามืดจะเป็นลมควรหยุดพักทันที

อย่างไรก็ตาม เน้นว่าอากาศร้อนไม่ใช่อุปสรรค์ในการออกกำลังกาย แต่ควรเลือกออกให้เหมาะสมกับช่วงเวลาและวัยที่สำคัญจิบน้ำบ่อยๆ เพื่อรักษาสมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย เพราะหากฝืนออกแบบไม่เหมาะสมอาจทำให้สุขภาพแย่เกินกว่าจะกู้กลับคืนมาได้

ที่มา : pptvhd36.com/health/care

ติดตามเรา

spot_img

Related Articles