โรคร้าวๆ เมื่อรองเท้าคู่โปรด ไม่เหมาะกับรูปเท้า พร้อมวิธีป้องก้น

  • จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าเท้าของตัวเองเป็นแบบไหน ลองมาเช็ก 3 รูปแบบเท้า โครงสร้างและการกระจาย้ำหนัด ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของเท้าที่แตกต่างกันออกไป
  • เมื่อน้ำหนักมาก โครงสร้างของเท้า กล้ามเนื้อ เอ็น ผังพืดต่างๆ รับน้ำหนักไม่ไหว เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น กลายเป็นกระดูกทิ่มกับพื้นทุกครั้งที่มีการเดิน
  • 5 โรคเท้าที่พบบ่อย แนวทางการดูแลป้องกัน ไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพเท้า แผ่นเสริมเท้าและ วิธีเลือกรองเท้าให้เหมาะสมกับตัวเอง ไม่ใช่แค่เห็นว่าเป็นรองเท้าสุขภาพ

เท้าเป็นอวัยวะที่อยู่ส่วนล่างสุดของร่างกาย และเป็นส่วนที่รับน้ำหนักทั้งหมดของร่างกาย แต่น้อยคนที่จะใส่ใจในการดูแลเท้า บางคนอาจจะไม่แม้แต่จะรู้ลักษณะรูปเท้าของตัวเอง เพื่อจะได้เลือกรองเท้าได้เหมาะสม ป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับเท้า

3 รูปเท้าและการกระจายน้ำหนัก

1.เท้าแบน ส้นเท้าบิดออกนอก กลางฝ่าเท้าแนบพื้น ลงน้ำหนักเต็มฝ่าเท้า

2.เท้าปกติ ส้นเท้าตรง กลางฝ่าเท้าโค้งเล็กน้อย ลงน้ำหนักฝ่าเท้าคล้ายเลข 7

3.เท้าสูง ส้นเท้าบิดเข้าใน กลางฝ่าเท้าโค้งสูง ลงน้ำหนักที่ฝ่าเท้าคล้ายวงรี 2 วง

5 โรคเท้าที่พบบ่อย

1.รองช้ำ เจ็บแปล๊บเมื่อลงน้ำหนักก้าวแรกในตอนเช้า เกิดจากเอ็นใต้ฝ่าเท้าและน่องอักเสบ

2.เอ็นเท้าอักเสบ เจ็บตรงหลังตาตุ่มด้านในและอุ้งเท้า เกิดจากเอ็นคล้องอุ้งเท้าอักเสบ

3.นิ้วหัวแม่เท้าเก เจ็บ บวมตรงนิ้วหัวแม่เท้า เกิดจากการใส่รองเท้า หน้าแคบหรือรองเท้าส้นสูง

4.เจ็บหน้าเท้า เจ็บ ปวด จมูกเท้าหรือบริเวณหน้าเท้า เกิดจากชั้นไขมันใต้ฝ่าเท้าสลายตัวหรือใส่ส้นสูง

5.ปมประสาทปลายเท้าอักเสบ ชาหรือเสียวแปลบลงไปที่ปลายนิ้ว ขณะเดินยืน เกิดจากการใส่รองเท้าหน้าแคบเป็นประจำ

ทั้งนี้ หากสังเกตเห็นความผิดปกติ ควรไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม

4 ท่าลดเจ็บเท้า

  • ยืดน่อง มือดันผนัง ยื่นขา 1 ข้างไปข้างหน้าย่อเข่า อีกข้างยืดตรงไปด้านหลัง ฝ่าเท้าทั้ง 2 ติดพื้น เริ่มยืดโดยงอเข่าหน้าและเข่าหลังเหยียดตึง
  • เหยียบบอล วางลูกบอลหรือลูกเทนนิสใต้ฝ่าเท้าแล้วกลิ้งคลึงไปมา
  • ยืนเขย่ง ยืนเขย่งบนปลายเท้าค้างไว้
  • ขยุ้มผ้า วางผ้าขนหนูใต้ฝ่าเท้า แล้วใช้นิ้วขยุ้มผ้าเข้าหาตัว
  • ระยะเวลาทำท่าละ 10 ครั้ง ข้างละ 20 วินาที ทั้ง 2 ข้าง

วิธีเลือกซื้อรองเท้า

  • มีส่วนกระชับข้อเท้าที่แข็งแรง
  • สามารถถอดแผ่นรองออกได้
  • พื้นรองเท้าไม่แข็งหรืออ่อนเกินไป
  • มีขอบนุ่มและกระชับ
  • สามารถปรับสายรัด เชือกให้พอดีกับขนาดเท้าได้
  • ผ้าด้านบนมีความยิดหยุ่น
  • ความกว้างของรองเท้าควรพอดีหรือใหญ่กว่าความกว้างของหน้าเท้า
  • นิ้วเท้าที่ยาวที่สุดห่างจากขอบด้านหน้า 1.5 เซนติเมตร
  • พื้นรองเท้าส่วนหน้าและส้นเท้าสูงต่างกันไม่เกิน 1 นิ้ว

ที่มา: bangkokbiznews.com/health

ติดตามเรา

spot_img

Related Articles